• 99 ม.9 ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก, ประเทศไทย

หลักสูตรระดับปริญญาเอก

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

รหัสและชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ปร.ด. (เทคโนโลยีชีวภาพ)
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy (Biotechnology) Ph.D. (Biotechnology)

จํานวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

แผน 1.1 : (ปริญญาโทต่อปริญญาเอก) ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

แผน 2.1 : (ปริญญาโทต่อปริญญาเอก) ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

แผน 2.2 : (ปริญญาตรีต่อปริญญาเอก) ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต

ปรัชญาของหลักสูตร

เทคโนโลยีชีวภาพเป็นสหสาขาวิชาที่มุ่งเน้นการน าความรู้และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ปรับปรุง สิ่งมีชีวิต และผลผลิตที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต รวมไปถึงดัดแปรผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการ เพื่อ สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรม ที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านต่าง ๆ และมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทั้งในระดับประเทศและระดับสากลอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางด้าน การเกษตร เภสัชกรรม การแพทย์ พลังงาน และอาหาร เป็นต้น ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนายุทธศาสตร์ความมั่นคงทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการพัฒนาและวิจัยทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เนื่องจาก เล็งเห็นและให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ เนื่องด้วยในประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติที่มีความหลากหลายทางชีวภาพในระดับสูง และมีศักยภาพในการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบ ดัดแปร และศึกษาวิจัยผ่าน กระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพ ให้ได้เป็นผลิตภัณฑ์ และ/หรือนวัตกรรม ที่ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน การเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของประเทศ รวม ไปถึงความมั่นคงที่ส่งผลต่อความมั่งคั่งและยั่งยืนของการพัฒนาประเทศไทย จึงมีความต้องการทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ หรือนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ที่จะมี บทบาทสำคัญในการวิจัย พัฒนา สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ และการควบคุมคุณภาพงานในด้านเทคโนโลยีชีวภาพในระดับอุตสาหกรรมสาขาต่าง ๆ อาทิ อุตสาหกรรมเกษตร เภสัชกรรม การแพทย์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ที่สอดรับกับยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม 20 ปี (พ.ศ. 2560–2579)และเป็นไปตามยุทธศาสตร์การวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวร ด้านการพัฒนาและสร้างความยั่งยืนทาง การเกษตร พลังงานทางเลือก การบริหารจัดการทรัพยากรชีวภาพ และการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่เพื่อรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ ที่มีเป้าหมายมุ่งสู่มหาวิทยาลัยวิจัยระดับแนวหน้าของโลก (Global and Frontier Research University) ที่ก่อให้เกิดการพัฒนางานวิจัยที่มีคุณภาพ เป็นประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมอย่างแท้จริง หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ จึงยังคงเป็นหลักสูตรที่มีความ จำเป็น และมีความสำคัญในการผลิตบัณฑิตรองรับยุทธศาสตร์ชาติ และยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรและยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ในเขตภาคเหนือตอนล่างที่อยู่ภายใต้แผนพัฒนาตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) อย่างต่อเนื่องต่อไป

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. มีความรู้ ความเข้าใจในวิทยาการเทคโนโลยีชีวภาพ สามารถบูรณาการความรู้เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีคุณค่าได้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นสากล

2. มีทักษะ และความช านาญในการสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. มีปฏิสัมพันธ์ในการท างานร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ กอปรกับมีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติที่ดี และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม